RBRU | International Institute

International Inatitute

RBRU โครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ


:: ภูมิปัญญาแห่งภาคตะวันออกสู่สากล ::

ประวัติความเป็นมา

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประเทศสมาชิกในสามเสา ได้แก่ ๑) การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ๒) การเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียน และ ๓) การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งการก้าวเข้าสู่ AEC ในปี ๒๕๕๘ ตามนโยบายของภาครัฐ นับเป็นปัจจัยเร่งอย่างยิ่งยวดที่ส่งผลกระทบให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนเกิดการเคลื่อนตัว เพื่อให้สอดรับกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเคลื่อนตัวดังกล่าวก่อให้เกิดปัจจัยภายนอกอีกหลายด้านตามมา ได้แก่ ความต้องการแรงงานทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพที่สามารถทำงานข้ามประเทศได้ ความต้องการด้านภาษา ความต้องการด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าระหว่างประเทศ และการทำความร่วมมืออื่นๆ กับต่างชาติ เหล่านี้ผลักดันมหาวิทยาลัยไทยในฐานะแหล่งวิทยาการ และเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตให้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนท้องถิ่นแห่งภาคตะวันออก ซึ่งมีวิสัยทัศน์ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคตะวันออกสู่สากล” และมีพันธกิจส่วนหนึ่งที่จะวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันออกสู่สากล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับกระแสที่เกิดขึ้นนี้ และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยภายในที่มีอยู่พบว่า มหาวิทยาลัยฯ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้ และพลอยจันทน์อันเลื่องชื่อ ประกอบกับทำเลที่ตั้งที่ใกล้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษถึง ๒ แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว นับเป็นปัจจัยภายในที่ได้เปรียบอย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถก้าวเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการค้าชายแดนที่มีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และส่งผลดีให้กับประเทศไทย อีกทั้งเมื่อพิจารณาในมุมมองระดับหลักสูตรก็พบว่ามหาวิทยาลัยฯ มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หลักสูตรวิศวกรรมโลจิสติกส์ และหลักสูตรอัญมณีศาสตร์ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมในการผลิตบัณฑิตให้ตอบสนองกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการค้าชายแดน ประกอบกับมหาวิทยาลัยฯ ได้ส่งเสริมหลักสูตรทั้งสามดังกล่าวให้เป็นหลักสูตรมุ่งเป้าของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเชิงรุกที่ดี นับเป็นจุดเด่นอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี แต่นั่นยังไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มวิสัยทัศน์และพันธกิจตามที่ได้ตั้งเอาไว้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ยังขาดหน่วยงานที่จะผลักดันมหาวิทยาลัยให้เกิดความเป็นสากล

ดังนั้น มหาวิทยาลัยฯ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหน่วยงานภายใน ที่มีหน้าที่เป็นช่องทางในการขับเคลื่อนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และสามารถนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคตะวันออกสู่สากลให้ได้ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวต้องมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินการกิจการต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ด้วยแนวคิดที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ดังนั้นมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วาระที่ ๔.๑ จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้ง “โครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ” ขึ้นเป็นโครงการพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องและสอดรับกับหน้าที่ที่ถูกกำหนดขึ้นมาข้างต้น

พันธกิจ / วัตถุประสงค์ / ภารกิจ / เป้าหมาย

วิสัยทัศน์
"พัฒนาเครือข่าย สร้างคนด้านภาษา สู่ความเป็นสากล"

พันธกิจ
  1. พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร นักศึกษา และองค์ความรู้ใหม่
  2. ให้บริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภาษาและงานต่างประเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และนักศึกษา
  3. บริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพด้านภาษาและงานกิจการต่างประเทศสู่ความเป็นสากลและบุคคลในชุมชน

ยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และบริหารจัดการกิจการต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
    เป้าประสงค์
    1. เครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศที่ตอบสนองความต้องการของบุคลากรและนักศึกษา
    2. การบริหารจัดการงานกิจการต่างประเทศที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์
    กลยุทธ์
    1. เพิ่มและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กร (S2, S3, S4, O1, O2, O4)
    2. สร้างเสริมการบริหารจัดการงานด้านกิจการต่างประเทศให้มีความคล่องตัว ทันสมัย ให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล (S1, S2, S3, S4, O1, O2, O3, O4)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพด้านภาษาต่างประเทศ และงานวิชาการสู่ความเป็นสากล
    เป้าประสงค์
    1. ศักยภาพทางด้านภาษาต่างประเทศของบุคลากร และนักศึกษาสูงขึ้น
    2. บริการวิชาการด้านภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
    3. หลักสูตรนานาชาติที่สนองตอบความต้องการของบุคลากรและนักศึกษา
    กลยุทธ์
    1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษา (S1, S3, S4, O1, O3)
    2. จัดและสนับสนุนงานวิชาการและงานบริการวิชาการทางด้านภาษา (S2, S3, S4, O1, O3)

โครงสร้างหน่วยงาน


บุคลากร



inter rbru
ผศ.ดร.จักรพันธุ์ วงษ์พา
ผู้ช่วยอธิการบดี





inter rbru
อาจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สุขสวัสดิ์
หัวหน้าโครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ


inter rbru
อาจารย์ ดร.วิศิษศักดิ์ เนืองนอง
รองหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ
inter rbru
อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ เงินสุข
รองหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ
inter rbru
อาจารย์ปฏิภาณ กิตินันทวัฒน์
รองหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ



inter rbru
นางวนิดา จงดี
หัวหน้าสำนักงาน
โครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ



inter rbru
นางสาวพรรณนภา สพโชค
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
inter rbru
นางสาวธิติกาญจน์ ชมดวง
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
inter rbru
ว่าที่ร้อยตรีกองพล เจิมพักตร์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
inter rbru
นายวิพัฒน์ วิทยานุกรณ์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
inter rbru
นางสาวกัญญ์วรา ไชยแสง
เจ้าหน้าพนักงานธุรการ

ประกาศ มติ ระเบียบ - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

to be continue...
to be continue...